“คุณสู้เราช่วย” โครงการปรับโครงสร้างหนี้จากแบงก์ชาติ

22 พฤษภาคม 2568

ในยุคข้าวยากหมากแพง รายได้ไม่แน่นอน หนี้สินก็ยังต้องจ่าย ทำให้หลายคน โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้า, อาชีพอิสระ, และมนุษย์เงินเดือน เจอปัญหาหนี้สินรุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน, หนี้รถ, หรือหนี้บัตร โครงการ “คุณสู้เราช่วย” จากธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นเหมือนทางออกในการปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยให้คนที่ยังสู้ไหว ได้มีโอกาสไปต่อ

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” คืออะไร?

“คุณสู้เราช่วย” เป็นโครงการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อช่วยลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่มีปัญหาหนี้สิน ให้กลับมาตั้งตัวได้อีกครั้ง โดยมีมาตรการช่วยเหลือหลัก ๆ 2 แบบ คือ “จ่ายตรง คงทรัพย์” ช่วยคนที่อยากรักษาบ้าน, รถ, หรือทรัพย์สินไว้ และ “จ่าย ปิด จบ” ช่วยคนที่อยากปิดหนี้ไว

มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์”

(สำหรับลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ที่เข้าร่วมโครงการ)

มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” เป็นทางเลือกสำหรับคนที่มีหนี้บ้าน หนี้รถ หรือหนี้ธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการรักษาทรัพย์สินไว้ โดยธนาคารจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ให้จ่ายค่างวดน้อยลง และพักการจ่ายดอกเบี้ยไว้เป็นเวลา 3 ปีเต็ม ซึ่งค่างวดที่จ่ายในช่วงนี้จะถูกนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด และถ้าลูกหนี้สามารถจ่ายตรงตามแผนครบ 3 ปี ดอกเบี้ยที่พักไว้จะถูกยกเว้นทั้งหมด ทำให้สามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สะสมไว้เลย.

“จ่ายตรง คงทรัพย์” ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?

มาตรการนี้จะช่วยลดค่างวด เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยลูกหนี้จะต้องจ่ายค่างวดแบบขั้นบันได (50% ในปีที่ 1, 70% ในปีที่ 2, 90% ในปีที่ 3 ของค่างวดเดิม) และพักดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี และหากลูกหนี้ทำตามเงื่อนไขได้ครบถ้วนและชำระหนี้ตามโครงการได้ครบ 3 ปี ดอกเบี้ยที่พักไว้ทั้งหมดจะถูกยกให้ ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถจ่ายมากกว่าค่างวดขั้นต่ำที่กำหนดไว้ เพื่อให้เงินต้นลดลงและปิดหนี้ได้เร็วขึ้น

ใครเข้าร่วมมาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” ได้บ้าง?

อ้างอิงจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมมาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์”ได้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

(1) มีวงเงินสินเชื่อรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกินที่กำหนด โดยพิจารณาแยกวงเงินในสัญญา (ต่อสถาบันการเงิน) ตามประเภทสินเชื่อ ดังนี้

  • สินเชื่อบ้าน / บ้านแลกเงิน (Home for cash) วงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • สินเชื่อเช่าซื้อ / จำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 8 แสนบาท
  • สินเชื่อเช่าซื้อ / จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  • สินเชื่อธุรกิจ SMEs วงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท

*กรณีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต หากมีหนี้บ้านหรือรถที่เข้าเงื่อนไขมาตรการข้างต้น สามารถพิจารณาเข้ามาตรการรวมหนี้ได้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้รับได้ โดยวงเงินรวมต้องไม่เกินตามที่กำหนดไว้ (ยกเว้นการรวมหนี้กับสินเชื่อบ้านของ ธอส.)

(2) สินเชื่อมีการทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

(3) มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(3.1) หนี้ที่ค้างชำระมากกว่า 30 วัน จนถึง 365 วัน (นับจากวันครบกำหนดชำระ)

(3.2) เคยปรับโครงสร้างหนี้ (ปรับหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65) และเคยมีวันค้างชำระเกิน 30 วัน (นับจากวันครบกำหนดชำระ) แต่ปัจจุบันต้องไม่ค้างชำระหรือค้างไม่เกิน 30 วัน

เงื่อนไขมาตรการ

อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” มีเงื่อนไขสำคัญที่ผู้เข้าร่วมต้องปฏิบัติตาม ดังนี้:

1. ลูกหนี้จะไม่สามารถทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลา 12 เดือนแรกหลังจากเข้าร่วมมาตรการ ยกเว้นในกรณีที่เป็นสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ทั้งนี้ เจ้าหนี้สามารถพิจารณาให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้ โดยต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเหมาะสม

2. ข้อมูลของลูกหนี้จะถูกบันทึกในระบบของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) ว่าได้เข้าร่วมมาตรการ

3. หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระค่างวดขั้นต่ำตามที่กำหนด หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ของมาตรการได้ เช่น การก่อหนี้ใหม่ภายในระยะเวลา 12 เดือน ลูกหนี้จะต้องออกจากมาตรการ และต้องชำระดอกเบี้ยที่ได้รับการพักชำระไว้ทั้งหมด

4. ในกรณีที่สัญญาสินเชื่อมีผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะต้องให้ความยินยอมและลงนามในสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่

มาตรการ “จ่าย ปิด จบ”

(สำหรับลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และ ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่เข้าร่วมโครงการ)

สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นหนี้เสียและมียอดหนี้ไม่สูง จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ในรูปแบบที่ผ่อนปรน เพื่อให้สามารถชำระหนี้และปิดบัญชีได้เร็วขึ้น พร้อมเริ่มต้นทางการเงินใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถเลือกชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภาระหนี้และปิดบัญชีได้เร็วขึ้นตามความเหมาะสม

ใครเข้าร่วมมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ได้บ้าง?

อ้างอิงจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ได้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

(1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาทุกประเภท ที่มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) 

(2) มีภาระหนี้รวมดอกเบี้ย ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อบัญชี  โดยไม่จำกัดประเภทสินเชื่อ (หากเข้าเงื่อนไขสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทุกบัญชี)

ข้อควรรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ

ลูกหนี้ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมโครงการได้ไหม

สามารถเข้าร่วมมาตรการได้หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด เนื่องจากมาตรการไม่ได้มีข้อจำกัดด้านอายุ

สถาบันการเงินใดเข้าร่วมมาตรการนี้บ้าง

คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการได้ที่นี่ : https://www.bot.or.th/khunsoo

มีชื่อในเครดิตบูโร (NCB) ต้องกังวลไหม

การมีชื่อในเครดิตบูโรจากการเข้าร่วมโครงการ “คุณสู้เราช่วย” ไม่ได้เป็นปัญหาเสมอไป เพราะเครดิตบูโรเป็นเพียงผู้รวบรวมข้อมูลเครดิต ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องการกู้ยืม การเข้าร่วมโครงการช่วยให้จัดการหนี้ได้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพหากผู้เข้าร่วมมีวินัยและมีความตั้งใจปลดหนี้ให้ได้จริง รวมถึงสะท้อนให้เห็นความรับผิดชอบในการชำระหนี้ และเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน สถานะเครดิตก็จะกลับมาเป็นปกติ ทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ตามเดิม

หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เสนอทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านเงื่อนไขผ่านทางช่องทางอื่น ดังนี้:

  • หากคุณเป็นลูกหนี้รายย่อยที่มีสถานะหนี้เสียจากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และมีการค้างชำระเกิน 120 วัน คุณสามารถติดต่อ ‘คลินิกแก้หนี้‘ เพื่อขอรับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้
  • หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ในรูปแบบอื่น สามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินของคุณโดยตรง หรือสมัครผ่านช่องทาง ทางด่วนแก้หนี้‘ เพื่อขอรับการปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม”

สมัครได้ถึงเมื่อไหร่?

หลังจากที่มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการขยายระยะเวลาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568

สมัครได้ที่ไหน?

  • สามารถสมัครและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์: www.bot.or.th/khunsoo
  • ติดต่อธนาคารเจ้าหนี้โดยตรง
  • โทรสอบถาม: 1213 (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน)

สรุปบทความ

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” เป็นโอกาสดีสำหรับคนที่มีหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้า, อาชีพอิสระ, หรือมนุษย์เงินเดือน ที่ยังอยากไปต่อ โครงการนี้ช่วยลดภาระหนี้, รักษาทรัพย์สิน, และช่วยให้เรากลับมาตั้งหลักได้อีกครั้ง

สำหรับใครที่ต้องการเงินด่วน เพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้น FINNIX มีสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ที่ออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ จุดเด่นคือ “เอกสารน้อย, อนุมัติไว, ผ่อนจ่ายตามกำลัง” สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้เลย!

(*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | ดอกเบี้ย 33% ต่อปี)

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวสารอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อยากยืมเงินด่วน 3000 เงินฉุกเฉิน 5000 ทำยังไง? กู้ที่ไหนดีบ้าง?
การเงิน 24 มิถุนายน 2568

อยากยืมเงินด่วน 3000 เงินฉุกเฉิน 5000 ทำยังไง? กู้ที่ไหนดีบ้าง?

สมัครสินเชื่อออนไลน์ หมุนเงินไม่ทัน หรือต้องการเงินใช้ยามฉุกเฉิน เป็นปัญหาที่คุณสามารถพบเจอได้อย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้เงินก้อนเล็กๆ อย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถกะทันหัน,
ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คืออะไร คำนวณแบบไหน
การเงิน 24 เมษายน 2568

ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คืออะไร คำนวณแบบไหน

สมัครสินเชื่อออนไลน์ คุณอาจเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมยอดหนี้ถึงไม่ลดลงเสียที ทั้งที่จ่ายไปหลายงวดแล้ว หรืออาจสับสนกับตัวเลขดอกเบี้ยที่ดูเหมือนไม่มีวันจบสิ้นใช่ไหมครับ? คุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่รู้สึ
พ่อค้าแม่ค้าไม่มีทะเบียนการค้าขอสินเชื่อได้หรือไม่
การเงิน 24 เมษายน 2568

พ่อค้าแม่ค้าไม่มีทะเบียนการค้าขอสินเชื่อได้หรือไม่

สมัครสินเชื่อออนไลน์ การขอสินเชื่อโดยไม่มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจนและไม่มีทะเบียนการค้าเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยว่าทำได้หรือไม่? เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าพ่อค้าแม่ค้าจะอยู่ในกลุ่มที่ได้รับกา

โหลดแอปเลย

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 33% ต่อปี

finnix-shape finnix-application
finnix-application
finnix application qr-code

โหลดแอปเลย

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | ดอกเบี้ย 33% ต่อปี

download application finnix
ไอคอน PDPA

เราเก็บคุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้เว็บไซต์ของคุณ ศึกษารายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า ได้ที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณเพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก